Marc Márquez ขึ้นนำ Jorge Lorenzo และ Andrea Dovizioso ในการแข่งขัน 2018 MotoGP Grand Prix of Austria.
© GEPA pictures/Red Bull Content Pool
MotoGP

สำรวจเส้นทาง 70 ปีของการแข่งขัน MotoGP

เดินทางมาถึง 8 ทศวรรษสำหรับการแข่งขันมอเตอร์ไซค์ระดับกรังด์ปรีซ์ ซึ่งเราก็จะพาไปดูว่าตลอดเส้นทางที่ผ่านมาการแข่งขัน MotoGP ต้องผ่านอะไรมาบ้างก่อนที่จะได้รับความนิยมจนถึงทุกวันนี้
เขียนโดย James Roberts
2 min readPublished on
รถจักรยานยนต์ ก็เป็นเหมือนกับรถยนต์ที่ถูกนำไปใช้ในการแข่งขันของเหล่าผู้คนที่แสวงหาความตื่นเต้น นับตั้งแต่รถจักรยานยนต์ถูกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรกในปี 1894 โดยการแข่งขันแรกเกิดขึ้นที่ Isle of Man TT ในช่วงปี 1906 ซึ่งนับตั้งแต่นั้นไปจนถึงช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ยานพาหนะสองล้อก็ได้ถูกนำไปวิ่งทั้งบนท้องถนน, บนพื้นที่โล่งกว้าง และบนเส้นทางวิบากทั่วทวีปยุโรป จนมาถึงปี 1949 จึงค่อยเริ่มมีการจัดแข่งขันที่เป็นทางการ และเป็นจุดเริ่มต้นของวงการมอเตอร์สปอร์ตอย่างที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้
ก่อนที่ MotoGP ฤดูกาลใหม่จะเริ่มเปิดฉากกันที่ กาตาร์ ในวันที่ 10 มีนาคม เรามาย้อนดูกันว่าวงการแข่งขันรถจักรยานยนต์มีวิวัฒนาการกันมาไกลแค่ไหนกว่าจะมาถึงปี 2019

1949: การเริ่มต้น (อย่างไม่เป็นทางการ) ของ MotoGP

ในปี 1949 สหพันธ์จักรยานยนต์นานาชาติ (FIM) ได้ถูกก่อตั้งขึ้นมา ซึ่งก็มาพร้อมกับการแข่งขันมอเตอร์ไซค์ที่เป็นทางการครั้งแรกทั้งในรุ่น 125cc, 250cc, 350cc และ 500cc (พ่วงด้วย Side Car 600cc) โดยสนามแรกที่ใช้ในการแข่งขันก็คือ Isle of Man TT
Leslie Graham นักบิดชาวอังกฤษอดีตนักบินเครื่องทิ้งระเบิดคือคนแรกที่ได้แชมป์ในรุ่น 500c ด้วยรถแข่งสัญชาติอังกฤษ AJS ขณะที่ Freddie Frith คว้าแชมป์ในรุ่น 350cc ด้วยรถของ Velocette

1950–1975: ยุคของผู้ผลิตจากอิตาลี

ช่วง 26 ปีแรกของการแข่งขันมอเตอร์ไซค์ระดับกรังด์ปรีซ์ ในรุ่น 500cc ทีมผู้ผลิตจากอิตาลีสามารถคว้าแชมป์ไปได้ถึง 24 สมัย ไม่ว่าจะเป็นทีม MV Agusta และ Gilera ที่มีนักแข่งอย่าง Giacomo Agostini, John Surtees และ Mike Hailwood ซึ่งได้แชมป์โลกกันไปหลายสมัย
ขณะที่การแข่งขันในพิกัดอื่นๆก็มีความดุเดือดมากขึ้น โดยเป็นเหตุการณ์ชิงชัยกันระหว่าง Honda, Suzuki, Norton, และ NSU

1961: เข้าสู่ยุคเครื่องยนต์สองจังหวะและการเติบโตของทีมญี่ปุ่น

ในปี 1950 MZ ผู้ผลิตจากเยอรมันตะวันออกได้เริ่มการพัฒนาเครื่องยนต์สองจังหวะซึ่งเป็นการปฏิวัติวงการด้วยเครื่องกำลังแรงม้า 200bhp ขณะที่ทีมแข่งของค่ายเองก็ชิงชัยกับบรรดาทีมชื่อดังได้อย่างสนุกสนานทั้งในระดับคลาส 50cc, 125cc, และ 250cc โดยมี Ernst Degner นักบิดซูเปอร์สตาร์ประจำทีม
อย่างไรก็ตามในปี 1961 Degner ก็ได้ย้ายไปร่วมงานกับทีมผู้ผลิตจากญี่ปุ่นอย่าง Suzuki ภายใต้เบื้องลึกเบื้องหลังที่ยังคลุมเครือแต่เป็นที่ทราบกันว่า Degner มีความต้องการที่จะแปรพักตร์จากรัฐสังคมนิยมเยอรมันด้วยองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องยนต์สองจังหวะของ MZ ซึ่งก็ช่วยให้ทีมผู้ผลิตญี่ปุ่นได้พัฒนารถจักรยานยนต์เครื่องสองจังหวะที่ทันสมัย

ปลายทศวรรษ 1960s: ปรับลดค่าใช้จ่ายและการตัดกำลัง

ช่วงยุค 1960 นักบิด Giacomo Agostini ได้คว้าแชมป์สมัยที่ 4 จาก 8 สมัยในการแข่งขันชิงแชมป์โลกรุ่น 500cc และคว้าสมัยที่ 2 จาก 8 สมัยในรุ่น 350cc โดยที่รถจากทีมผู้ผลิตอิตาลียังคงทำผลงานได้ดีที่สุดในระดับพรีเมียร์คลาส แต่ในปี 1966 Honda ก็ได้เป็นผู้ผลิตจากญี่ปุ่นรายแรกที่ได้แชมป์ 500cc ขณะที่ทีม Yamaha และ Suzuki เองก็เริ่มฉายแสงสร้างผลงานในคลาสอื่นๆ
ในปี 1967 ท่ามการเกมการแข่งอันดุเดือดทาง FIM ได้ตัดสินใจที่จะเข้ามาควบคุมค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นในการผลิตรถจักรยานยนต์ ส่งผลให้บรรดาทีมจากญี่ปุ่นอย่าง Honda, Suzuki และ Yamaha เกิดความไม่พอใจ และตัดสินใจถอนตัวออกจากการแข่งขันระดับกรังด์ปรีซ์ ส่งผลให้ MV Agusta คว้าแชมป์ในคลาส 500cc ไปสบายๆ

1975: ผู้ผลิตจากญี่ปุ่นเรืองอำนาจ

ต้นยุค 70 ทีม Yamaha, Honda และ Suzuki ได้ครองแชมป์ทุกสนามในการแข่งขันระดับ 125cc และ 250cc แต่มันก็ไม่ได้คงอยู่แบบนั้นจนมาถึงปี 1975 เมื่อ Agostini ได้คว้าแชมป์ครั้งสุดท้ายในรุ่น 500cc กับ Yamaha นับว่าเป็นจุดสูงสุดของการแข่งขันมอเตอร์ไซค์ระดับโลก
การคว้าแชมป์ของ Agostini เหมือนเป็นการเปิดประตูเขื่อน โดยที่ในปีต่อมา Barry Sheene ก็ได้เป็นแชมป์รุ่น 500cc บนตัวแข่งของ Suzuki ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นการครองยุคสมัยของผู้ผลิตจากญี่ปุ่นที่กวาดแชมป์ทุกรายการในช่วงปี 1975 และ 2007 ก่อนที่เวทย์มนต์ดังกล่าวจะถูกทำลายโดย Casey Stoner ที่คว้าแชมป์ MotoGP ให้กับ Ducati

1979: Honda กลับมาพร้อมเทคโนโลยีเครื่องยนต์สี่จังหวะ

หลังจากรุ่นจากวงโคจรไปในช่วงปี 1967 ทีม Honda ก็ได้กลับมาสู่วงการแข่งขันรถจักรยานยนต์ระดับกรังด์ปรีซ์อีกครั้งในปี 1979 ด้วยความพยายามที่จะทำสิ่งที่แตกต่างซึ่งขัดการการเติบโตของเทคโนโลยีเครื่องยนต์สี่จังหวะที่เข้ามาแทนที่เครื่องยนต์สองจังหวะที่กำลังได้รับความนิยม
ผลลัพท์นะเหรอ? ก็ไม่ค่อยดีเท่าไร ผลงานเครื่องยนต์สี่จังหวะของ Honda ไม่มีโอกาสฉายแสงเลยจนกระทั่งปี 1979 ในการแข่งขัน British Grand Prix สนามที่ 11 ของฤดูกาล ทาง Honda ก็ได้ตัดสินใจนำรถทั้งสองคันถอนตัวออกจากการแข่งขัน

1980s: ดาวเด่นจากอเมริกาและออสเตรเลีย บนรถแข่งสัญชาติญี่ปุ่น

ช่วงทศวรรษที่ 1980 เป็นทศวรรษที่มีเสน่ห์สำหรับการแข่งขันมอเตอร์ไซค์ระดับกรังด์ปรีซ์และได้สร้างการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในวงการสองล้อ
Wayne Rainey, Freddie Spencer, Eddie Lawson, และ Wayne Gardner ขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือดบนตัวแข่งของ Yamaha กับ Honda ซึ่งช่วยกระตุ้นยอดผู้ชมทั่วทั้งโลก ด้วยตัวละครที่หลากหลายสีสัน นับว่าเป็นยุคทองของวงการกีฬาชนิดนี้

2000s: กำเนิดการแข่งขัน MotoGP อย่างเป็นทางการ

หลังจากครองวงการแข่งขันรถสองล้อของ Honda ในระดับกรังด์ปรีซ์รุ่น 500cc ช่วงปี 1990 ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการกีฬาเมื่อ Valentino Rossi คว้าแชมป์ระดับพรีเมียร์คลาสในรุ่น 500cc เป็นครั้งแรกในปี 2001 ก่อนจะคว้าแชมป์อีกครั้งในปีต่อมา ขณะที่การแข่งขันก็ถูกเรียกว่า MotoGP อย่างเป็นทางการ
การรีแบรนด์การแข่งขันได้แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงและข้อบังคับด้านเทคนิคใหม่ เครื่องยนต์สี่จังหวะถูกนำกลับมาอีกครั้ง และพิกัดมอเตอร์ไซค์ของศึก MotoGP ถูกเพิ่มเป็น 990cc โดยมี Rossi ที่เดินหน้าคว้าแชมป์ MotoGP ในช่วง 4 ปีติดต่อกันในช่วงระหว่างปี 2001 และ 2005
ในปี 2007 กฏระเบียบด้านเทคนิคของการแข่งขัน MotoGP มีการปรับเปลี่ยนอีกครั้งพิกัดเครื่องยนต์ถูกปรับลดเหลือ 800cc โดยมีบิดออสเตรเลียอย่าง Casey Stoner ที่ผงาดคว้าแชมป์ให้กับ Ducati ทีมโรงงานจากอิตาลี ยุติยุคมหาอำนาจของทีมโรงงานจากญี่ปุ่นที่มีมานานถึงสามทศวรรษ

2012 และ 2016: การเปลี่ยนแปลงทางเทคนิค

สำหรับฤดูกาล 2012 พิกัดเครื่องยนต์ของ MotoGP ได้ถูกเพิ่มไปสูงถึง 1,000cc เป็นการเข้าสู่ยุคสมัยของนักบิดชาวสเปนและเป็นการแข่งขันระหว่าง Jorge Lorenzo และ Marc Marquez
ในปี 2016 Michelin ได้เข้ามาสนับสนุนยางสำหรับการแข่งขันแทนที่ของ Bridgestone และเป็นการเปลี่ยนแปลงรถจักรยานยนต์ที่ใช้แข่งทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ซึ่งช่วยยกระดับการแข่งขันให้ดีขึ้น โดยที่ในปีนั้นได้มีผู้คว้าแชมป์ในระดับกรังด์ปรีซ์ที่ไม่ซ้ำกันถึง 9 คน
ก่อนที่จะโดนบิดรุ่นน้องขึ้นมาแทนที่ตัวของ Jorge Lorenzo ได้คว้าแชมป์ในปี 2012 และ 2015 กับทาง Yamaha ขณะที่ Marc Marquez เองก็ได้เป็นแชมป์ MotoGP ที่มีอายุน้อยที่สุดในปี 2013 และเดินหน้าสู่ปี 2019 ด้วยสถานะแชมป์โลก 5 สมัย
ในปี 2019 ตัวของ Lorenzo ได้ย้ายมาร่วมงานกับ Marquez กับทีม Honda ซึ่งเป็นสัญญาว่าเราจะได้เห็นบทบาทใหม่อันน่าตื่นเต้นของวิวัฒนาการการแข่งขัน MotoGP

Part of this story

Marc Márquez

ผมเป็นแชมป์นักบิด MotoGP ที่อายุน้อยที่สุด และได้ตำแหน่งในรุ่น Premier ถึง 3 สมัย!

SpainSpain
ดูข้อมูลเหตุการณ์